วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การเคลื่อนที่

         การเคลื่อนที่ในการเล่นกีฬาแบดมินตัน                      

   1.  ความหมายของการเคลื่อนที่
                            เจียมศักดิ์   พานิชชัยกุล (2530 : 63 - 66) ได้ให้ความหมายของการเคลื่อนที่ลักษณะต่างๆ ไว้ว่า แบดมินตันเป็นเกมที่ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายต้องเคลื่อนที่ย้ายตัววิ่งไล่ตีลูกตลอดเวลาผู้เล่นจึงต้องอาศัยการวิ่งเข้าออกและประชิดตีลูกในจังหวะที่ถูกต้องในอิริยาบถที่ถนัด เคลื่อนย้ายตัวตีลูกด้วย            ความง่ายดายและสิ้นเปลืองแรงน้อยที่สุด
                          การเคลื่อนที่ (Foot Work) ไปยังตำแหน่งต่างๆ ของสนามทำได้หลายอย่าง เช่น
การก้าวเท้า  การสืบเท้าหรือสไลด์  การวิ่ง การกระโดด  เป็นต้นโดยทั่ว ๆ ไปจะกระทำดังนี้
                            1.1  การวิ่งไปข้างหน้า  หมายถึง  การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าในกีฬาแบดมินตันนี้จะเป็นการก้าวเท้าเพียง 2 - 5 ก้าวหรือมากกว่านี้หรือเป็นการพุ่งตัวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว เพื่อที่จะได้ตีโต้ลูกได้ทันเหตุการณ์ การวิ่งไปข้างหน้าส่วนมากจะเป็นการก้าวหน้าแบบยาว ๆ หรืออีกประการหนึ่งคือ  สืบเท้า หรือลากเท้าหลังเข้ามาประชิดเท้าหน้า   และเท้าหน้าก็เลื่อนออกไปอย่างรวดเร็วก้าวสุดท้ายที่รับลูกมักจะเป็นก้าวที่ยาวมากกว่าปกติ หรืออาจจะเป็นการกระโดดขึ้นแล้วเล่นลูกเพื่อช่วยใน            การทรงตัว หรือเพื่อมิให้เสียหลักในการเล่น
                            1.2   การวิ่งถอยหลัง หมายถึง  การเคลื่อนที่ไปข้างหลังโดยที่หน้าหันไปหาคู่ต่อสู้  การถอยหลังมักนิยมถอยแบบเท้าหนึ่งกระโดดถอยไปแล้วลากเท้าหนึ่งเข้ามาชิด เท้าที่ถูกชิด                 ก็พุ่งถอยหลังไปอีก
การวิ่งไปข้างหน้าหรือถอยหลังนี้มีประโยชน์ในการเล่นกีฬาทุกชนิด ดังนั้นผู้เล่น
ทุกคนจึงต้องพยายามฝึกหัดให้เกิดความชำนาญ และให้มีความคล่องตัวในการที่จะเล่น  และการเปลี่ยนทิศทางในเฉียบพลันทันที ไม่ว่าจะเป็นการวิ่งไปข้างหน้าหรือถอยกลับไปข้างหลังก็ตาม การฝึกจะต้องฝึกควบคู่กันไปกับการจับและถือไม้แร็กเกตตีกลางอากาศ   เพื่อให้มีความ รู้สึกชินต่อการเหวี่ยงไม้ในลักษณะต่าง ๆ เช่น ตีลูกหยอด   ลูกตบหน้ามือ   ลูกตบเหนือศีรษะ เป็นต้น
                        1.3  การสไลด์  หมายถึง  การก้าวเท้าหนึ่งไปแล้วลากเท้าหนึ่งเข้ามาชิด เท้าที่ถูกชิดจะต้องรีบพุ่งออกไปทันที ส่วนมากจะเป็นการก้าวหรือสไลด์ไปด้านข้าง ครั้งแรกให้ผู้เล่นฝึกการสไลด์ติดต่อกัน 2 - 3 ก้าว แล้วตีลูกตามความเหมาะสม
                                @ การสไลด์ไปทางขวา  โดยก้าวเท้าขวานำไปก่อนแล้วลากเท้าซ้ายมาชิด     เท้าขวา  เท้าขวารีบก้าวหรือขยับไปข้างขวาทันที การสไลด์ไปทางขวานี้ให้หัดตีลูกหน้ามือ  ลูกดาด          ลูกหยอด ลูกตบ เป็นต้น
                                @ การสไลด์ไปทางซ้าย ให้ปฏิบัติตรงกันข้ามกับการสไลด์ไปทางขวา แต่ก่อนการตีลูกมักจะก้าวเท้าขวาข้ามเลยเท้าซ้ายไป   และตีลูกหลังมือหรือลูกหยอดจากหลังมือ และลูกดาดด้วย เช่นกัน แต่บางครั้งถ้าลูกพุ่งมาโด่งพอก็อาจจะตบได้เช่นกัน
                            การสไลด์เท้าไปข้าง ๆ นี้ผู้เล่นจะต้องฝึกให้เกิดความชำนาญโดยเฉพาะการสไลด์เท้าไปทางซ้ายเพื่อตีลูกในลักษณะตีด้วยลูกหลังมือ  เพราะผู้เล่นส่วนมากมักจะขาดความชำนาญ  ผู้จู่โจมหรือรุกจึงมักพยายามให้คู่ต่อสู้ใช้ลูกไม่ถนัดหรือไม่ชำนาญในการตอบโต้มากที่สุดแต่ถ้าผู้เล่นมี    ความชำนาญแล้วก็จะได้รับประโยชน์ในการเล่น การเคลื่อนที่ในการเล่นกีฬานั้น เกือบจะเรียกได้ว่าเป็นครึ่งหนึ่งของเกมทีเดียว    จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เล่นจะต้องรู้จักเลือกใช้การเคลื่อนที่    เพื่อให้เหมาะสมกับการรับหรือการรุกของเกมตลอดจนรู้จักการถนอมกำลังไว้ในการเล่นเพื่อไม่ให้หมดแรงก่อนการเล่นจบลง     ถ้าสามารถเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนทิศทางได้ทันต่อเกมแล้วย่อมมีโอกาสที่จะเป็นฝ่ายรุกจู่โจม หรือได้รับชัยชนะในที่สุด
                        ธนะรัตน์   หงส์เจริญ  (2539 : 92)  ได้กล่าวถึงความสำคัญในการเคลื่อนที่ตีลูกไว้ว่า การเคลื่อนที่เป็นส่วนสำคัญในการเล่นแบดมินตัน เนื่องจากแบดมินตันเป็นเกมเร็วผู้เล่นจึงจำเป็นต้องเคลื่อนตัวตีลูกไปทั่วสนามในช่วงเวลาที่จำกัด    การเคลื่อนที่ที่ดีจะช่วยให้ผู้เล่นสามารถตีลูกได้ทันทีทั้งทางด้านหน้ามือ และหลังมือ ทั้งในระดับต่ำหรือสูง ทั้งในระยะที่ใกล้ตัวหรือห่างตัวก็ตาม อีกทั้ง       ฝึก การก้าวเท้าให้เกิดความชำนาญควบคู่ไปพร้อมกับการตีลูกให้มาก การวิ่งเคลื่อนที่จะทำได้ดีควรฝึก  การสไลด์เท้า โดยมีเท้านำเท้าตามไปทุกทิศทางทั้งทางด้านหน้า  ด้านข้างและด้านหลัง  ฝึกการสปริงข้อเท้าด้วยการบริหารข้อเท้า กระโดดเชือก ฝึกการวิ่ง  การหยุด การพลิกตัวเปลี่ยนทิศทางให้เกิด   ความชำนาญจะทำให้การเล่นแบดมินตันพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ วาสนา  คุณาอภิสิทธิ์ (2546 : 28) ยังได้กล่าวไว้ว่าการเคลื่อนไหวลำตัว
ที่ถูกต้องจะช่วยเพิ่มกำลังความสามารถในการบังคับลูก และการกลับเข้าที่อย่างไม่เสียการทรงตัว
              2.  การยืนเตรียมพร้อมในการเล่นกีฬาแบดมินตัน
                         เจียมศักดิ์  พานิชชัยกุล (2530 : 63) กล่าวถึงการยืนเตรียมพร้อมไว้ดังนี้ การยืนเตรียมพร้อมเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญมากทั้งในการฝึกและการแข่งขัน เพราะจะทำให้ผู้เล่นพร้อมที่      จะเล่น หรือตีลูกขนไก่ได้ทันตลอดเวลา ไม่ว่าลูกขนไก่จะมาทางด้านไหน ผู้ที่ยืนเตรียมพร้อมจะสามารถเคลื่อนที่ไปได้ทุก ๆ ด้านได้ทันตลอด นอกจากนี้การยืนเตรียมพร้อมยังช่วยให้ผู้เล่นมีสมาธิที่จะตีลูก ขนไก่ในแต่ละครั้งได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย ลักษณะการยืนเตรียมพร้อมในกีฬาแบดมินตันที่สำคัญ ๆ มีดังนี้
                          2.1  การยืนเตรียมพร้อมที่จะตีลูกขนไก่  การยืนเตรียมพร้อมที่จะตีลูกขนไก่ทำ    โดยการแยกเท้าให้เท้าทั้งสองข้างอยู่เหลื่อมล้ำกันเล็กน้อย  แล้วย่อตัวลงทิ้งน้ำหนักตัวลงที่ปลายเท้า   ทั้งสองข้าง  ลำตัวโน้มไปข้างหน้าเล็กน้อยมือจับไม้แร็กเกตให้ถูกต้องตามองตามทิศทางของลูกขนไก่และคู่ต่อสู้ตลอดเวลา การเตรียมพร้อมเช่นนี้สามารถใช้แรงดันหรือบิดเอี้ยวเล็กน้อย เท้าทั้งสองข้างก็จะพาผู้เล่นพุ่งออกสู่ทิศทางต่างๆ ตามความต้องการเพื่อปรับจังหวะเท้าวิ่งเข้าประชิดลูกขนไก่ไม่ว่า       ลูกขนไก่จะมาทางด้านขวาหรือซ้ายของลำตัว
2.2       การยืนเตรียมพร้อมที่จะรับลูกขนไก่  ในลักษณะการยืนเตรียมพร้อมที่จะรับลูก
ขนไก่ผู้เล่นจะต้องมีหลักในการยืน  ที่สำคัญที่สุดคือไม่ควรยืนเท้าตาย (เท้าตาย คือ ยืนเท้าขนานเสมอกันเต็มทั้งสองเท้า) ควรยืนโดยใช้เท้าข้างใดข้างหนึ่งนำหน้า  อาจเป็นเท้าซ้ายหรือเท้าขวาก็ได้เพื่อ     การเคลื่อนไหวที่สะดวกไม่ว่าไปทางด้านหน้า   ด้านข้าง   หรือด้านหลัง  การเคลื่อนที่ของเท้าที่ดีคือการก้าวเท้าแบบสืบเท้าไปด้านข้าง

   3.  การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ
                           เจียมศักดิ์  พานิชชัยกุล (2530 : 66 - 72) ได้เสนอแนะวิธีการเคลื่อนที่ของนักกีฬาแบดมินตันไว้ 3 ลักษณะ คือ
                           3.1  การเคลื่อนที่ไปด้านหน้า มีอยู่ 3 ลักษณะดังนี้
                                    @ เคลื่อนที่ 2 ก้าว ทำโดยก่อนก้าวให้ถ่ายน้ำหนักตัวไปทางเท้าขวาแล้ว ก้าวเท้าซ้ายออกไป 1 ก้าวสั้น สุดท้ายก้าวเท้าขวาออกไป 1 ก้าวยาว            
@ เคลื่อนที่ 3 ก้าว ทำโดยให้ถ่ายน้ำหนักตัวไปเท้าซ้ายแล้วก้าวเท้าขวาไป 1
ก้าวสั้น ก้าวเท้าซ้ายไป 1 ก้าวสั้น สุดท้ายก้าวเท้าขวาไป 1 ก้าวยาว พร้อมตีลูกขนไก่
      @ ก้าวชิดก้าว  ถ่ายน้ำหนักตัวไปอยู่เท้าซ้าย แล้วก้าวเท้าขวาออกไปหนึ่งก้าว
 แล้วลากเท้าซ้ายไปชิดเท้าขวา พร้อมกับก้าวเท้าขวาออกไปหนึ่งก้าวยาว
     3.2   การเคลื่อนที่ไปด้านหลัง มี 3 ลักษณะดังนี้
                                    @ การเคลื่อนที่สไลด์เท้าถอยหลัง  เวลาถอยหลังให้ตัวเฉียงแล้วถอย     สไลด์ไป ผู้ที่ถนัดมือขวาให้เท้าขวานำ เท้าซ้ายตามจะถอยกี่ก้าวต้องแล้วแต่ว่าลูกจะมาแรงหรือค่อย การถอยหลังแบบนี้ค่อนข้างจะเร็ว และว่องไว จึงเป็นวิธีที่ใช้กันมาก
@ การเคลื่อนที่โดยการไขว้เท้าถอยหลัง ให้เท้าขวากับเท้าซ้ายถอยหลัง
สลับกันตามธรรมชาติจะถอยกี่ก้าวก็ได้ตามความต้องการ
       @ การถอยหลังตีลูกหลังมือ
                                     E  2 ก้าว  ถอยเท้าซ้ายไปหนึ่งก้าวแล้วหันตัวไปพร้อมกับก้าวเท้าขวาไปหนึ่งก้าว
                                    E  3 ก้าว  ถอยเท้าขวาออกแล้วถอยเท้าซ้ายเป็นก้าวที่ 2  แล้วหันตัวพร้อมกับก้าวเท้าขวาออกไปหนึ่งก้าว
                              3.3  การเคลื่อนที่ไปด้านข้าง  การเคลื่อนที่ไปด้านข้างเพื่อรับลูกตบมี 3 ลักษณะดังนี้
                                    @ การเคลื่อนที่ 1 ก้าว เป็นการเคลื่อนที่ใกล้ตัว                   
  4.  หลักทั่วไปเกี่ยวกับการเคลื่อนที่
                   ธนะรัตน์  หงส์เจริญ (2537 : 49 - 51) ได้เสนอแนะหลักทั่วไปเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ไว้ดังนี้
                        4.1 ต้องอยู่ในลักษณะท่าเตรียมพร้อม คือยืนให้น้ำหนักลงที่ปลายเท้าทั้งสองข้าง ระหว่างเท้าห่างกันประมาณช่วงไหล่ เข่าย่อ ถือไม้แร็กเกตขึ้นพร้อมที่จะตีลูกได้ทันที
                        4.2  การเคลื่อนที่ทำได้ใน 2 ลักษณะ คือการก้าวเท้า และการสืบเท้า หรือสไลด์เท้าผู้ที่ถือไม้แร็กเกตด้วยมือขวาจะต้องให้เท้าขวานำในการก้าวเท้า หรือสืบเท้า  ซึ่งควรบิดสะโพกช่วยด้วย ทุกครั้งจะทำให้การก้าวเท้า การหมุน การกลับตัวทำได้รวดเร็วคล่องแคล่ว
                       4.3  สำหรับคนที่ถือไม้แร็กเกตมือขวาก้าวสุดท้ายก่อนการตีลูกต้องเป็นเท้าขวาเสมอส่วนผู้ที่ถนัดซ้ายก็ทำตรงข้าม    และในก้าวสุดท้ายควรฝึกให้ก้าวยาวกว่าปกติเล็กน้อย และต้องให้    ส้นเท้าลงก่อนทุกครั้งด้วย
                        การเคลื่อนที่เป็นส่วนสำคัญในการเล่นแบดมินตัน เนื่องจากแบดมินตันเป็นเกมที่เร็ว ผู้เล่นจำเป็นต้องเคลื่อนตัวตีลูกไปทั่วสนามในช่วงเวลาที่จำกัด   การเคลื่อนที่ที่ดีจะช่วยให้ผู้เล่นตีลูก  ได้ทันทั้งด้านหน้ามือ ด้านหลังมือ  ทั้งในระดับสูงและระดับต่ำใกล้ตัวหรือห่างตัว  อีกทั้งควรฝึก        การก้าวเท้าให้เกิดความชำนาญควบคู่กันไปด้วย  พร้อมกับการตีลูกให้มาก   การฝึกเคลื่อนที่จะทำได้ดีควรฝึกการสไลด์เท้า โดยมีเท้านำเท้าตามไปทุกทิศทางทั้งด้านหน้า  ด้านหลัง  ด้านข้างฝึกการสปริง  ข้อเท้าด้วยการบริหารข้อเท้า   กระโดดเชือก    ฝึกการวิ่ง  การหยุด  การพลิกตัวเปลี่ยนทิศทางให้เกิดความชำนาญจะทำให้การเล่นแบดมินตันพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว  การวิ่งเคลื่อนที่ควรฝึกไปตามลำดับต่อไปนี้
                1)  การวิ่งเข้าหน้าและถอยหลัง  สำหรับคนที่ถือไม้แร็กเกตมือขวา  เริ่มจากท่าเตรียมพร้อมยืนด้วยปลายเท้าย่อเข่าห่างจากเส้นส่งลูก ตรงกึ่งกลางสนามประมาณ 3 ฟุต   การวิ่งโดยก้าวเท้าขวานำ  ให้ปลายเท้าขวาชี้ไปยังทิศทางที่จะไปแล้วก้าวเท้าซ้ายตามไปในลักษณะสืบเท้าหรือสไลด์ตามลักษณะการวิ่งจะเอียงลำตัวด้านขวานำโดยไหล่จะหันไปทางเดียวกับเท้า   เมื่อถึงที่หมาย อันเป็นก้าวสุดท้ายให้เอาส้นเท้าลงก่อน  เพื่อช่วยในการหยุดไม่ให้เซไปข้างหน้า   ขณะเดียวกันเท้าที่อยู่ข้างหลังบริเวณปลายเท้า   ส่วนนิ้วหัวแม่เท้าด้านขวาจะกดติดกับพื้นสนามเป็นการช่วยหยุดเพื่อการทรงตัวและยังช่วยในการถอนตัวกลับ การถอยหลังก็ให้ถ่ายน้ำหนักตัวมาข้างหลัง  พร้อมกับถอนเท้าหน้าไปไว้ด้านหลัง  ไหล่ซ้าย และปลายเท้าซ้ายจะชี้ไปในทิศทางเดิมให้ถอยเท้าขวานำและสไลด์เท้าซ้ายตาม  สำหรับคนที่ถือไม้แร็กเกตมือซ้ายก็ให้ทำตรงกันข้า
             2)  การวิ่งออกด้านข้างซ้ายและขวา  สำหรับคนที่ถือไม้แร็กเกตด้วยมือขวาจาก
ท่าเตรียมพร้อมให้ก้าวเท้าขวานำแล้วก้าวเท้าซ้ายสไลด์ตาม ลักษณะเท้าและลำตัวคล้ายกับวิ่งเข้าหน้าและถอยหลัง แต่ไปด้านข้างขวาของการตีหน้ามือ  ส่วนการตีหลังมือเมื่อยืนอยู่จุดกลางในท่าเตรียมพร้อมให้ก้าวเท้าขวาไขว้ไปด้านซ้ายแล้วใช้เท้าขวาก้าวนำ ส่วนคนที่ถือไม้แร็กเกตด้วยมือซ้ายให้ทำตรงกันข้าม
              3)  การวิ่งเคลื่อนที่ 4 จุด  สำหรับคนที่ถือไม้แร็กเกตด้วยมือขวาจากท่าเตรียมพร้อม
บริเวณกลางสนามค่อนไปข้างหน้าให้วิ่งเข้าหน้า และถอยหลังแบบเดิมเพียงแต่ต้องก้าวเท้าไปอย่างมีเป้าหมายอยู่ที่มุมสนาม 4 จุด  กล่าวคือ มุมขวาของตาข่ายจุดที่ 1 มุมซ้ายของตาข่ายจุดที่ 2 มุมหลังด้านขวาของสนามเป็นจุดที่ 3 มุมหลังด้านซ้ายของสนามเป็นจุดสุดท้าย สิ่งสำคัญให้เน้นการก้าวจังหวะสุดท้ายก่อนการตีลูกให้ใช้ส้นเท้าลงก่อน และปลายเท้าชี้ไปในทิศทางเดียวกัน
             4)  การวิ่งเคลื่อนที่ 6 จุด  สำหรับคนที่ถือไม้แร็กเกตด้วยมือขวา จากท่าเตรียมพร้อม
บริเวณจุดกึ่งกลางสนามค่อนไปข้างหน้า  ลักษณะการวิ่งเป็นการผสมระหว่างการวิ่งเข้าหน้าและถอยหลังกับการวิ่งออกด้านข้างซ้ายและขวา โดยมีเป้าหมายทั้งหมด 6 จุดของสนาม  คือ 2 จุดด้านหน้าซ้ายและขวา 2 จุดด้านข้างสนามซ้ายและขวา และ 2 จุดสุดท้ายที่มุมหลังด้านซ้ายและขวาของสนาม     สำหรับการวิ่งเคลื่อนที่ทั้ง 6 จุด ให้เน้นทิศทาง โดยหันลำตัว  หัวไหล่  และปลายเท้าชี้ไปยังตำแหน่งที่จะตีลูก เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของข้อเท้าพลิกและทิศทางควรเป็นไปด้วยความถูกต้อง
 5.  การใช้สายตาและลำตัว
                        สายตา
                        วาสนา   คุณาอภิสิทธิ์ (2546 : 27)ได้กล่าวถึงการใช้สายตาไว้ว่า ผู้เล่นที่มีสายตาว่องไวจะได้เปรียบเพราะสารมารถสังเกตเห็นลูกและการเคลื่อนไหวของฝ่ายตรงกันข้ามได้เร็วทำให้มีโอกาสในการโต้ตอบได้ดีกว่า การใช้สายตาให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่จะมีผลต่อการเตรียมพร้อม ความเร็ว  และการวางลูก  โดยทั่วไปผู้เล่นต้องใช้สายตาดังนี้
   C  จับตาดูลูกอยู่ตลอดเวลาทั้งในขณะที่ฝ่ายตรงกันข้ามตีเข้ามาหรือจากการตีของ
ตนเอง ต้องยกแร็กเกตขึ้นสูงอยู่ตลอดเวลา อย่าก้มหน้าเพราะจะทำให้ตีได้ไม่ดีและพลาดได้ง่าย
  C  สังเกตตำแหน่งการยืนของฝ่ายตรงกันข้ามทุกขณะด้วยเพราะจะทำให้สามารถ
วางลูกได้ดีและเหมาะสม
                         C  สังเกตท่าทางการตีของฝ่ายตรงกันข้ามรวมทั้งการใช้ความเร็ว มุม และทิศทางของหน้าแร็กเกตก่อนการตอบลูก   การสังเกตความเร็วนั้นจะทำให้เราคาดได้ว่าลูกขนไก่ที่ฝ่าย      ตรงกันข้ามตีมานั้นจะไปได้ไกล  เร็ว  สั้น หรือช้าเพียงใด   การสังเกตมุมจะทำให้คาดได้ว่าลูกที่มานั้นสูงหรือต่ำแค่ไหน และการสังเกตดูทิศทางของหน้าแร็กเกตก็ทำให้คาดได้ว่าฝ่ายตรงกันข้ามจะตีลูกหน้ามือหรือหลังมือ
                        ฉะนั้น จึงต้องรู้จักสังเกตท่าทางของฝ่ายตรงกันข้ามแม้จะยากแต่ถ้าทำได้ก็จะมีประโยชน์มากเพราะจะทำให้เราสามารถเคลื่อนที่ได้เร็วหรือเคลื่อนที่ไปก่อนการตีลูก และต้องฝึกไม่ให้สายตาวอกแวก ต้องตั้งใจและไม่ก้มหน้า การใช้สายตาอย่างฉลาดก่อให้เกิดประโยชน์ 3 ประการคือ ความแม่นยำ  ตำแหน่งการวางลูก และความเร็ว
                        ลำตัว
                        วาสนา   คุณาอภิสิทธิ์ (2546 : 28) ได้กล่าวถึงการใช้ลำตัวไว้ว่า ลำตัวมีส่วนช่วยในการตีลูกทุกครั้ง ถ้าใช้ประกอบได้ดีและถูกต้องแล้วจะทำให้ตีลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพราะสามารถช่วยเพิ่มความแรงและความแม่นยำ จึงควรปฏิบัติดังนี้
 E การตีลูกเหนือศีรษะ ถ้าต้องการเพิ่มความแรงในการตีจะต้องแอ่นลำตัวไปข้าง
หลังและหันด้านข้างให้กับตาข่ายในขณะสวิงแร็กเกตไปข้างหลัง  แล้วยืดลำตัวตรงและขนานกับตาข่ายในขณะแร็กเกตกระทบลูก
 E การตีลูกหยอดหน้าตาข่ายและการส่งลูกสั้น จะต้องหันไหล่หรือเอียงลำตัวไปยัง
ทิศทางที่ต้องการจะตีลูกไปพอสมควร
E  ต้องรักษาสมดุลร่างกายหรือรักษาการทรงตัวให้ดีเพื่อจะได้กลับที่เดิมได้อย่าง
รวดเร็วและไม่เสียหลักหลังจากการตีลูกต่าง ๆ ไปแล้ว
E ก่อนการตีลูกต่าง ๆ ส่วนมากจะเริ่มด้วยการย่อเข่าลงเล็กน้อยลำตัวตั้งตรงและจะ
ยืดเข่าขึ้นในขณะตีลูก ซึ่งท่าทางเหล่านี้เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่าง ขา ลำตัว แขน และข้อมือ
E  ก่อนการตีลูกทุกครั้ง น้ำหนักตัวจะอยู่มาเท้าด้านหลังซึ่งเป็นขณะเดียวกันที่สวิง
แร็กเกตไปข้างหลัง และเมื่อสวิงแร็กเกตมาข้างหน้าลำตัวก็จะยืดตรงขึ้นและโน้มลงมาด้านหน้าในขณะที่แร็กเกตกระทบลูก ลำตัวจะขนานกับตาข่าย น้ำหนักตัวจะตกอยู่ที่เท้าหน้า หลังจากนั้นจะยก
เท้าขวาตามมาเพื่อช่วยในการรักษาสมดุล
                        การเคลื่อนไหวลำตัวที่ถูกต้องจะช่วยเพิ่มกำลังความสามารถในการบังคับลูก และ   การกลับเข้าที่อย่างไม่เสียการทรงตัว

การจับไม้แบดมินตัน

เอกสารประกอบการเรียน
                                                                    การจับไม้แร็กเกต

                   1.  หลักทั่วไปในการจับไม้แร็กเกต
                                   กำเนิด   สุภัณวงษ์  (2537 : 10)   ได้กล่าวถึงวิธีการจับไม้แร็กเกตที่นิยมกันมี  2 แบบคือ แบบเช็คแฮนด์ และแบบวีเชพ การจับไม้แบบเช็คแฮนด์ เหมาะสำหรับการตีลูกหน้ามือ (Fore Hand) จนถึงลูกอ้อมศีรษะ (Over Head) ลูกขนไก่จะกระทบหน้าไม้เป็นมุมฉาก แรงที่ใช้ตีลูกหลังมือ  (Back Hand) สามารถปรับนิ้วเพื่อช่วยให้การตีลูกได้แรงขึ้นโดยขยับนิ้วชี้ลงไปชิดกับนิ้วกลางแล้วยื่นนิ้วหัวแม่มือกดลงที่สันเล็กของด้าม  นิ้วหัวแม่มือจะช่วยส่งแรงทำให้ตีลูกหลังมือได้แรงขึ้นกว่าการใช้ข้อมือเพียงอย่างเดียว   การตีหลังมือโดยวิธีนี้จะด้อยกว่าการตีโดยการจับไม้แบบวีเชพเล็กน้อย สมมุติการตีหลังมือโดยการจับไม้แบบวีเชพได้คะแนนเต็ม 10  คะแนน  การจับไม้แบบเช็คแฮนด์และใช้     หัวแม่มือช่วยจะได้คะแนนประมาณ  8  คะแนน
                                   การจับไม้แบบวีเชพ  เหมาะสำหรับการตีลูกหลังมือ  โดยที่นิ้วหัวแม่มือจะกดอยู่ที่ สันใหญ่ของด้ามในการตีลูกหน้ามือการจับไม้แบบวีเชพไม่สามารถปรับหน้าไม้ให้ตั้งฉากกับลูกขนไก่ได้  ลูกขนไก่จะทำมุมกับหน้าไม้ประมาณ 45 องศา   ซึ่งทำให้แรงที่ใช้ในการตีลูกได้ประโยชน์เพียงครึ่งเดียว และวิถีของลูกขนไก่จะไม่ตรงหรือที่เราเรียกกันว่าลูกไซด์  ลูกตบของนักกีฬาที่จับไม้       แบบวีเชพจะมีเสียงดังน่าเกรงขามมาก แต่ลูกขนไก่วิ่งค่อนข้างช้าเมื่อเปรียบกับการตบโดยจับไม้    แบบเช็คแฮนด์  นอกจากนั้นยังทำให้ลูกขนไก่เสียหายง่าย โดยขนจะหักหรือบี้ จากการตบเพียง 2-3 ครั้ง ซึ่งทำให้เกิดความสิ้นเปลืองเป็นอย่างมากในการฝึกซ้อม
                                   ในการเริ่มฝึกหัดเล่นแบดมินตันจะเริ่มด้วยการตีลูกหน้ามือก่อน   ดังนั้นควรที่จะเริ่มด้วยการจับไม้แบบเช็คแฮนด์ เมื่อฝึกหัดตีลูกหลังมือจึงสอนให้เลือกว่าจะคงรูปการจับไม้แบบเช็คแฮนด์ไว้ และช่วยในการตีลูกหลังมือโดยการปรับนิ้วชี้ และนิ้วหัวแม่มือหรือปรับไปจับไม้แบบวีเชพใน    การตีลูกหลังมือ และปรับมาจับไม้แบบเช็คแฮนด์เมื่อตีลูกหน้ามือ  ซึ่งวิธีการจับไม้แร็กเกตที่ถูกต้องและนิยมมี 2  แบบคือ
                                   1.1  การจับแบบเช็คแฮนด์   ใช้มือซ้ายจับที่คอไม้แร็กเกตก่อนวางฝ่ามือขวาลงบนด้ามไม้แร็กเกต แล้วจึงค่อยๆ ลากมือลงมาเรื่อย ๆ จนนิ้วก้อยหยุดที่ปลายด้ามแล้วกำทั้ง 4  นิ้วรอบ ๆ ด้ามไม้แร็กเกตส่วนนิ้วหัวแม่มือจะอยู่ทางด้านแบนอีกด้านหนึ่งของไม้แร็กเกตคล้ายการสัมผัสมือ
1.2      การจับแบบวีเชพ  ธนะรัตน์  หงส์เจริญ (2537 : 43) ได้อธิบายวิธีการจับ
ไม้แร็กเกตแบบวีเชพไว้ว่า  ยกมือข้างที่ถนัดขึ้นมาแล้วกางนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ออก เป็นรูปตัววีแล้วสอดด้ามไม้แร็กเกตเข้าไปในช่องรูปตัววีใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้คีบทางด้านแบนของด้ามไม้แร็กเกตไว้ เมื่อจับถูกต้องหัวไม้แร็กเกตด้านที่เป็นสันจะอยู่ตรงกลางร่องตัววีพอดี จากนั้นนิ้วที่เหลือทั้ง 3 นิ้ว       กำด้ามไม้แร็กเกตเข้ามาโดยกำให้สุดด้าม   ปลายด้ามจะอยู่ในอุ้งมือ ใช้นิ้วชี้ล็อกทางส่วนโค้งของ    ด้ามไม้แร็กเกตเอาไว้ เมื่อจับด้ามไม้แร็กเกตเรียบร้อยสังเกตจะเห็นว่านิ้วชี้ไม่ติดกับนิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อยที่เรียงติดกันเป็นมุม 45 องศา ส่วนนิ้วหัวแม่มือจะวางทาบอยู่ด้านแบนของด้ามไม้แร็กเกต
 ธนะรัตน์  หงส์เจริญ  (2537 : 44)  ได้เสนอแนะหลักทั่วไปในการจับไม้แร็กเกต
  ดังต่อไปนี้
                                        1)  ไม่จับไม้แร็กเกตจนแน่นเกินไปกระชับมือเพียงให้อยู่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดในการตีหากจับไม้แร็กเกตแน่นจนเกินไปจะทำให้เกิดอาการเกร็งในส่วนของแขนและไม่สามารถตีและบังคับลูกขนไก่ไปยังเป้าหมายด้วยการใช้นิ้วและข้อมือได้ถนัดกลายเป็นการใช้แขน
มากกว่าเพราะหลักการเล่นแบดมินตันต้องใช้นิ้วมือและข้อมือในการตีลูกขนไก่บังคับไปยังเป้าหมายด้วยความรวดเร็วและแม่นยำ ซึ่งจะทำได้ดีและง่ายกว่าการใช้แขน
                                         2)  เมื่อจับด้ามไม้แร็กเกตไว้อย่างถูกต้องแล้วสามารถที่จะใช้ไม้แร็กเกตนั้นได้เสมือนเป็นส่วนหนึ่งของแขน
                                     อย่างไรก็ตามควรได้ทราบถึงวิธีการจับไม้แร็กเกตที่ไม่ถูกต้องไว้ด้วยเพื่อเป็นข้อเปรียบเทียบที่พบเห็นมีอยู่ 2 วิธีคือ
                                      @  การจับไม้แร็กเกตแบบหน้าเดียว ซึ่งข้อแตกต่างของการจับไม้แร็กเกตแบบนี้กับการจับแบบวีเชพ  คือนิ้วหัวแม่มือจับอยู่ตรงสันทำให้ไม่สามารถตีลูกขนไก่ได้ทั้ง 2 หน้า คงตีได้เพียงหน้าเดียวเฉพาะหน้ามือเท่านั้นส่วนด้านหลังมือไม่สามารถตีได้เลย
                                     @  การจับไม้แร็กเกตแบบรวมนิ้วหรือแบบกำค้อน  คือการจับไม้แร็กเกตแบบนี้จะใช้นิ้วทั้งห้าจับที่บริเวณด้ามไม้แร็กเกตในลักษณะที่กำแน่นรวมนิ้วทั้งห้าติดกัน ทำให้ไม่สามารถใช้นิ้วและข้อมือในการตีลูกขนไก่อย่างถูกต้องตามหลักการของกีฬาแบดมินตัน
                                    สำหรับข้อเสียของการจับไม้แร็กเกตที่ไม่ถูกวิธีทั้ง 2 แบบที่กล่าวข้างต้นแล้วนั้น โอกาสที่ตัวนักกีฬาจะพัฒนาเป็นผู้เล่นที่ดีต่อไปในอนาคตได้นั้นเป็นเรื่องยากเพราะมีจุดอ่อนอยู่มากและการแก้ไขก็ทำได้ยากเช่นเดียวกัน เนื่องจากเกิดความเคยชินเสียแล้ว
 2.   เทคนิคในการจับไม้แร็กเกต
                                  กำเนิด  สุภัณวงษ์  (2537:10)  ได้เสนอแนะเทคนิคในการจับไม้แร็กเกตไว้ดังต่อไปนี้
นอกจากการจับไม้แร็กเกตแบบเช็คแฮนด์และวีเชพแล้วในแต่ละแบบยังอาจแบ่งเป็น
                                  2.1   การจับไม้แร็กเกตแบบสั้น (จับที่โคนด้ามทำให้เหลือส่วนที่ใช้ตีสั้น)มีข้อดีคือสามารถควบคุมไม้แร็กเกตได้ดี   เพราะไม้สั้นลงทำให้รู้สึกเบาเหมาะสำหรับการเล่นลูกหน้าตาข่าย สามารถควบคุมลูกได้แม่นยำ แต่จะมีข้อเสีย คือ ตบลูกไม่รุนแรง มีผู้เริ่มเล่นจำนวนมากจับไม้แร็กเกตแบบสั้นช่วยให้ตีเป็นเร็ว แต่ถ้าไม่เปลี่ยนจับให้ยาวขึ้นกว่าเดิมเขาจะมีจุดอ่อนที่ตบลูกได้ไม่รุนแรง       คู่ต่อสู้จะโยนลูกให้ตบโดยไม่เกรงกลัว
2.2  การจับไม้แร็กเกตแบบยาว (จับที่ปลายด้ามให้เหลือส่วนที่ใช้ตียาว) มีข้อดีคือมี
การตบลูกที่รุนแรงการตีลูกไกลถึงหลังซึ่งจะเสียแรงน้อย ข้อเสียคือ จะเล่นลูกหน้าตาข่ายไม่ค่อยดี นักกีฬาที่จับไม้แร็กเกตแบบยาวมักจะเป็นผู้ที่เคยจับไม้แร็กเกตแบบปานกลางมาก่อน และมาพบว่า   การจับไม้แร็กเกตแบบยาวช่วยให้ตบลูกได้รุนแรงดี
2.3      การจับไม้แร็กเกตแบบปานกลาง  นักกีฬาส่วนใหญ่จะจับไม้แร็กเกตแบบนี้
เพราะไม่มีข้อเสียเด่นชัด สามารถเล่นได้ทุกลูกดีพอสมควร ผู้เล่นบางคนที่มีพรสวรรค์เปลี่ยนวิธี        จับไม้แร็กเกตให้เหมาะกับการตีลูกแต่ละลูก คือตีลูกแบบหน้ามือจับแบบเช็คแฮนด์  ตีลูกแบบหลังมือจับแบบวีเชพ   ลูกตบท้ายสนามจับไม้ยาวแบบเช็คแฮนด์  และเมื่อเข้าเล่นหน้าตาข่ายจะจับไม้สั้นแบบวีเชพหรือเช็คแฮนด์
นักกีฬาแบดมินตันที่มีความรู้ในการจับไม้แร็กเกตสามารถนำไปแก้ไขการตีลูกให้ดี
ยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถประเมินความสามารถคู่แข่งขันได้ โดยการดูว่าเขาจับไม้แร็กเกตแบบใด เช่น ถ้าคู่แข่งขันจับไม้แร็กเกตแบบวีเชพ และจับไม้สั้นเขาควรจะเล่นลูกหน้าตาข่ายได้ดี ส่วนลูกท้ายสนามจะไม่ค่อยมีพิษสง ลูกตบจะเบาตีลูกโต้ถึงหลังก็เสียแรงมากจึงควรเล่นลูกท้ายสนามกับเขาเป็นส่วนใหญ่    คู่แข่งขันที่น่าเกรงขามมากที่สุด คือ  ผู้ที่ปรับการจับไม้แร็กเกตให้เหมาะสมกับการตีลูกแต่ละลูก แต่ผู้เล่นที่สามารถทำได้เช่นนี้มีจำนวนค่อนข้างน้อย

                 3.  การบังคับไม้แร็กเกต
                                 3.1  การใช้ข้อมือ วาสนา  คุณาอภิสิทธิ์ (2546 : 27) ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของการใช้ข้อมือสำหรับนักกีฬาแบดมินตันไว้ว่า ข้อมือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเล่นแบดมินตันมาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าใช้ข้อมือได้ถูกต้องเพียงอย่างเดียวแล้วจะทำให้ทิศทางการพุ่งของลูกดีเท่านั้น  การจะตีให้ดีที่สุดต้องอาศัยการก้าวเท้า (Pace) กำลัง (Power) และการหลอกล่อ (Deception) ประกอบกันไปด้วย   ผู้เล่นจะสามารถเคลื่อนไหวข้อมือได้ดีในลักษณะทำมุม 90 องศากับแขนในขณะหักข้อมือไปข้างหน้าและทำมุม 45 องศาในขณะหักกลับไปข้างหลังการใช้แรงข้อมือจะทำให้สามารถตีลูกต่าง ๆ ได้เร็วและไกลตามต้องการ

3.2  เทคนิคการใช้ข้อมือ
                                        @ ก่อนการตีลูกทุกครั้งจะต้องหักข้อมือไปข้างหลังเสียก่อนไม่ว่าจะตีลูกในลักษณะใดก็ตาม
                                        @ ความเร็วของการสะบัดหรือหักข้อมือนั้นขึ้นอยู่กับความเร็วของการสวิงแขน แต่ไม่จำเป็นต้องหักข้อมือไว้ก่อนการสวิงแขนและการเคลื่อนที่
                                         @ ข้อมือเป็นส่วนสุดท้ายก่อนการสวิงไม้แร็กเกต ถ้าฝึกได้ดีสามารถหลอกล่อฝ่ายตรงข้ามได้ด้วยการเปลี่ยนทิศทางของลูกตามการหมุนข้อมือ
                                         @ ข้อมือที่แข็งแรงและยืดหยุ่นได้ดีนั้น สามารถฝึกได้และถ้าทำได้จะมีผล
ทำให้ตีได้ดีขึ้นอีก
                                การทดสอบว่าได้ใช้แรงข้อมือหรือไม่ ให้ผู้ตีหลับตาแล้วตีแบบหักข้อมือ กับไม่    หักข้อมือเปรียบเทียบกัน จะได้ยินเสียงแตกต่างกัน ถ้าเสียงดังมากแสดงว่าใช้ข้อมือมาก ฉะนั้นใน     การตีลูกทุกครั้งจะต้องคิดเสมอว่าเราใช้ข้อมือเต็มที่หรือไม่